วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สุภาษิตสอนหญิง

                          


                           ในสมัยก่อนมีการเปรียบผู้หญิงเหมื่อนผ้าขาวสะอาด ซื่งถ้าเปรอะเปื้อนสิ่งใดแม้แต่น้อย ก็เกิดเป็นจุดตำหนิเสียแล้ว และตำหนิที่ว่านี้ก็เกิดได้โดยง่ายนัก ดังนั้นคนสมัยก่อนจึงจำเป็นต้องหาทางป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิดตำหนิในผ้าขาว และหาทางแก่ไขในกรณีที่ได้เกิดขึ้นแล้ว จึงได้มี..สุภาษิต.. หรือสุภาษิตสอนหญิงเกิดขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ป้องกันแก้ไขตำหนิต่างๆได้เป็นอย่างดี         สุภาษิต ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย          สุภาษิตสอนหญิง เป็นที่รวมเเห่งคติในการครองตัวของหญิงตามวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม เป็นที่ยกกย่องเเพร่หลายสืบต่อกันมาช้านาน เเส่วนมากคงถือปฏิบัติทุกวันนี้ จะมีเลิกถอนตามคตินิยมอย่างใหม่บ้างเพียงบ้างประการ เช่นการกราบเท้าสามีเมื่อเข้านอน หรือการรับประทนอาหารหลังสามีเป็นตัน




เรือนสามน้ำสี่
                      คำว่า เรือนสามน้ำสี คือ คุณสมบัติของกุลสตรีไทยทั่วทุกภาคที่ควรปฏิบัติ เพื่อเป็นการรักษาบ้านเรือนให้น่าอยู่ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อกาออกเหย้าออกเรือยชน เพื่อให้ครอบครัวที่ออกไปใหม่ มีความเพียบพร้อมด้วยความน่าอยู่ 

      เรือนสามน้ำสี่ บางตำราก็กล่าวแบ่งแยกย่อย ว่า เรือน 3 อย่างนั้น มีอะไรกันบ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วก็ไม่ได้ต่างกันไปนัก เพราะเป็นสิ่งดีๆทั้งนั้น ทางภาคอีสาน เรือนสามน้ำสี่ก็ต่างจากภาคกลาง ดังบทลำล่องข้างบน เป็นเรือนสามน้ำสี่ที่มาจากทางภาคอีสาน ส่วนภาคอื่นๆ จะขอกล่าวต่อไป 


เรือนสามน้ำสี่ ประกอบด้วยอะไรบ้าง


เรือนสาม
   เรือน หรือ บ้าน หรือ ทางภาคอีสานจะเรียกว่า ฮ้าน หรือ เฮือน เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อทุกๆก้าวอย่าง เป็นสถานที่ที่มีผลต่อความเป็นอยู่ บ้านคือปัจจัยสี่ที่สำคัญ แต่ภายในเรือน หรือฮ้านของผู้หญิง จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมา ซึ่งต้องดูแลให้ดี เพราะเป็นที่กุลสตรีไทยใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่นี่ 


เรือนที่ 1. เรือนนอน
ผู้หญิงย่อมมีโลกส่วนตัวของตัวเอง ที่นอนคือ สถานที่บอกได้ว่า คุณเป็นคนที่มีระเบียบมากน้อยเพียงใด การเข้านอนของผู้หญิง ที่นอนที่เป็นระเบียบ นำมาซึ่งการ 


เรือนที่ 2. เรือนครัว
เรือนครัว คือ สถานที่ที่ผู้หญิงใช้ในการประกอบอาหาร อาหารจะดี อาหารจะอร่อย ก็มาจากส่วนนี้ แขกไปไทยมาจะต้องมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหาร หากเรือนนี้ สกปรก รกรุงรัง หรือ ไม่สะอาด ก็ยากที่จะปรุงอาหารให้อร่อยได้ เรือนครัว ทั้งคนที่อยู่ในบ้าน เช่น พ่อแม่ หรือ สามี หรือแม้แต่แขกที่มาบ้าน ก็จะได้รับรู้ถึงเสน่ห์ปลายจวัก ได้กินอาหารที่สะอาด และอร่อย มีแต่คนชื่นชม 


เรือนที่ 3. เรือนผม
คำว่า เรือนผม เป็นการกล่าวโดยรวม โดยยกตัวอย่างผมมาเป็นตัวแทนของความสวยความงาม ผู้หญิงที่มีผมงาม ถือว่าเป็นเบญจกัลยาณี 

เบญจกัลยาณี (แปลว่า ผู้มีความงาม 5 ประการ) หมายถึงสตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ คือ
1. ผมงาม คือมีผมเหมือนหางนกยูง เมื่อสยายออกทิ้งตัวลงมาถึงชายผ้า 
2. เนื้องาม คือมีริมฝีปากแดงเหมือนลูกตำลึงสุก เรียบสนิทมิดชิดดี 
3. ฟันงาม คือขาวเหมือนสังข์และเรียบเสมอเหมือนเพชรเรียง 
4. ผิวงาม คือถ้าผิวดำก็ดำสม่ำเสมอเหมือนดอกอุบล ถ้าขาวก็ขาวเหมือนกลีบดอกกรรณิการ์ 
5. วัยงาม คืองามทุกวัย แม้คลอดบุตรมาแล้ว 10 ครั้งก็ยังดูสาวพริ้งอยู่ 
ตำนานว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นเบญจกัลยาณีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล
ผมของสตรี หากหวี หากสระ ให้สวย และสะอาดอยู่เสมอก็เป็นที่ดึงดูดใจของบรรดาหนุ่มๆ ให้มีคนดีๆมาให้ดูให้เลือก แขกไปไทยมาก็สดชื่น อยากคุยอยากเจรจา 
สามเรือนผ่านไป คงไม่ยากเกินไปสำหรับหญิงไทย
มาดูน้ำสี่กันบ้าง



น้ำสี่


น้ำที่ 1. น้ำจิตน้ำใจ

น้ำใจ สตรีที่ดีต้องมีน้ำใจเอื้ออาทรแก่ผู้ที่อยู่ในบ้านเรือนของตน ตั้งแต่พ่อเรือนหรือสามีของตน ไปจนถึงบริวารในบ้าน การผูกพันกันด้วยน้ำใจนี้ ทำให้ครอบครัวมีความสุขแน่นแฟ้นอย่างที่เรียกกันว่า ล้อมรั้วด้วยรัก ซึ่งน้ำใจนี้ควรจะมีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวของสามีด้วย เพราะสังคมไทยต่างจากสังคมตะวันตก ที่เมื่อแต่งงานแล้วจะแยกครอบครัวออกจากพ่อแม่อย่างเด็ดขาด ในสังคมไทยการแต่งงานไม่ได้หมายถึงแต่งกับผู้ชายที่เป็นสามีของเราคนเดียว แต่หมายรวมไปถึงแต่งกับครอบครัวของเขาด้วย การที่ภรรยายอมรับและเป็นที่ยอมรับในครอบครัวของสามีได้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง 

น้ำที่ 2. น้ำดื่มน้ำกิน

น้ำดืม ทุกๆบ้าน หากขาดซึ่งสิ่งนี้แล้วหาได้เป็นบ้านไม่ เพราะไม่ว่า จะกินกรรมอะไรก็ต้องมีการกินการดื่ม การจัดเตรียมน้ำให้พอเพียงและสะอาดนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ทุกบ้านเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ น้ำดื่มถือเป็นสิ่งจำเป็น หากข้าวติดคอ ไม่เตรียมน้ำดื่มไว้ อาจตายได้ และน้ำนี้แหละที่เอาไว้สำหรับปรุงอาหาร เพราะมีความสะอาด และรสชาดไม่จืดเกินไป
จากคำโบราณ ที่บอกว่า "เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" สิ่งแรกที่จะให้กันได้ คือ การมีน้ำดื่มสักแก้วสักขัน เพื่อให้แขกได้พักผ่อน หรือก่อนที่จะเจรจากันต่อไป บ้านทุกบ้าน แม้ไม่ได้มีอะไรเลอเลิศ ขอเพียงน้ำดืมสักขันก็เพียงพอแล้ว 
นอกจากนี้ ความสำคัญของภาชนะใส่น้ำก็สำคัญ บ้านบางหลังจะมีแอ่งน้ำ (น้ำที่บรรจุในภาชนะหม้อดิน) ซึ่งหม้อดินมีคุณสมบัติพิเศษคือ การถ่ายเทความร้อน น้ำในแอ่งน้ำจะเย็นกว่าใส่ในโอ่ง การรักษาระดับน้ำในแอ่งน้ำก็เป็นความจำเป็น บ่งบอกว่า ลูกสาวบ้านไหนขยัน หรือ ขี้เกียจ ปล่อยให้น้ำแห้งแอ้ง เป็นการแสดงความเอาใจใส่ด้วย แอ่งน้ำของสาวบางบ้าน มีตะใคร่น้ำขึ้นตลอด แต่ข้างในแอ่งนั้นสะอาด น้ำใส บ่งบอกว่า บ้านนั้นมีการเติมเต็มน้ำตลอด และมีการล้างแอ่งตลอด การมีตะใคร่น้ำ จะทำให้น้ำนั้นเย็นยิ่งขึ้นกว่าการไม่มีตะใคร่
สมัยก่อน สมัยที่ยังไม่มีน้ำประปา จะมีแอ่งบ้านไว้ให้แขกไปไทยมาที่หน้าบ้าน ใครใคร่กิน กิน ใครใคร่ตัก ก็ตัก แขกพ่อค้า ก็ได้อาศัยน้ำนี้แหละประทังชีวิตให้เดินขายของต่อไป 

น้ำที่ 3. น้ำอาบ
น้ำอาบ หมายโดยรวมคือน้ำใช้ทั่วไป ทางภาคอีสาน จะเรียกว่า "น้ำเซอะ" คือ ใช้ในกิจการทั่วไป ใช้อาบใช้ล้างภาชนะ ใช้ทำความสะอาดบ้าน ก่อนขึ้นบ้านก็จะมีน้ำนี้ล้างเท้าก่อน เพื่อให้บ้านไม่เลอะคราบสกปรกจากการทำงาน น้ำอาบสตรีไทยต้องเตรียมไว้ เพื่อให้พ่อให้พี่ ให้ สามีได้อาบเพราะผู้ชายจะทำงานมาเหนื่อยๆไม่มีเวลาได้ไปตักน้ำมาให้อาบหรอก อย่าให้ขาด 
สมัยนี้มีน้ำประปาก็ดีหน่อยแต่ความหมายของน้ำอาบ คือ การรักษาระดับน้ำใช้ให้เพียงพออยู่เสมอนั่นเอง 

น้ำที่ 4. น้ำเต้าปรุง หรือ น้ำปรุง 
น้ำชนิดนี้ เป็นน้ำที่ให้กับบรรพบุรุษหรือ ผู้ที่มีพระคุณ ที่คอยปกปักษ์รักษา บ้านทุกบ้านจะมีเทวดาประจำบ้าน บ้างก็ว่า ผีเหย้าผีเรือน บ้างกว่าว่า เจ้าที่เจ้าฐาน การมีน้ำชนิดนี้ไว้ในบ้าน อาจจะเป็นหิ้งพระ หรือ ศาลพระภูมิบ้าน ก็จะเป็นการดี กลางคืน เราไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะ ทุกคนต่างอยู่ในภาวะหลับไหล การรักษาบ้านของเทวดา ไม่จำเป็นที่ท่านจะช่วย เพียงแต่ให้เรารู้สึกตัว เมื่อมีเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ การมีน้ำเต้าปรุงไว้อาจจะใส่เครื่องหอม เช่น ขมิ้น แป้งหอม หรือ ดินสอพองบ้างก็จะดี เสมือนหนึ่งว่า เป็นน้ำทิพย์ให้ท่านเทวราช นั่นเอง 

เรือนสามน้ำสี่ บางตำราจะบอกว่า เรือนสาม ประกอบไปด้วย บ้านเรือน เรือนผม เรือนกาย บางตำราก็ว่า บ้านเรือน เรือนชะตา เรือนผม บ้างก็ว่า เรือนที่อยู่อาศัย, เรือนหูกทอผ้า(เปลี่ยนจากเรือนชะตา) และเรือนผม 
ส่วนน้ำสี่ ก็มีน้ำกิน น้ำใช้ น้ำใจ น้ำปูน (สมัยก่อนกินหมากเลยต้องมีของต้อนรับเป็นเชื่อนหมาก มีปูนด้วย) บ้างก็ว่า น้ำในโอ่งที่เก็บไว้กินใช้ประจำวัน, น้ำในขันที่ตักแบ่งจากน้ำอย่างแรกมาใช้, น้ำในหม้อปลาร้าที่เอาไว้ปรุงรสเป็นน้ำปลา และสุดท้ายก็น้ำใจเหมือนกันเพียงข้อนี้ 
ทั้งหมด คือ เรือนสามน้ำสี่ กุลสตรีของไทย ใครเอาไปใช้รับรองว่า จะมีแต่สิ่งดีๆเกิดขึ้นในชีวิต เป็นปราชญ์อย่างหนึ่งของบรรพบุรุษของเราที่ได้ให้ไว้ เป็นคติสอนใจ ให้รู้จักการการครองเรือน นี่เป็นตำราที่ข้าพเจ้ารวบรวม บางตำราก็แตกต่างกันไปบ้าง แต่เป้าหมายโดยรวม คือ ความเป็นกุลสตรที่งดงามนั้นเอง 






ที่มา: http://www.isanchula.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น